หน้าแรก >> 15 มิถุนายน วันไข้เลือดออกอาเซียน

Jan
18
15 มิถุนายน วันไข้เลือดออกอาเซียน

 

วันไข้เลือดออกอาเซียน"
           จากสถิติของผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก พบว่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสถิติผู้ป่วยจำนวนมากสุด ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์บูรไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา จึงได้มีมติร่วมกัน กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน (ASEAN Dengue Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน ในประเทศตระหนักในการป้องกันโรค และร่วมกันแก้ปัญหา
          โรคไข้เลือดออก ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุข ในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ละปีพบผู้ป่วยไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 ราย จากผลสำรวจครึ่งปีแรก มีรายงานผู้ป่วย ใน 7 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเชีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม รวม 69,213 ราย เสียชีวิต 57 ราย และด้วยสภาพภูมิประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จึงได้มีมติร่วมกัน กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน
          สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกลุ่มประเทศอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 มิถุนายน 2555 พบว่า ประเทศมีรายงานผู้ป่วยมากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์ พบผู้ป่วย 28,163 ราย รองลงมาคือประเทศไทย พบผู้ป่วย 14,045 ราย เสียชีวิต 9 ราย มาเลเชีย พบผู้ป่วย 10,352 ราย เสียชีวิต 20 ราย เวียดนาม พบผู้ป่วย 10,296 ราย เสียชีวิต 7 ราย กัมพูชา พบผู้ป่วย 4,050 ราย เสียชีวิต 18 ราย สิงคโปร์ พบผู้ป่วย 1,529 ราย และ ลาว พบผู้ป่วย 778 ราย เสียชีวิต 3 ราย ส่วนใหญ่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และในส่วนของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข เร่งควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย และเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ซึ่งช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่เสี่ยงในการระบาดของโรคนี้อย่างมาก ทางกระทรวงสาธารณสุข จึงเน้นทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ไม่ให้เป็นพาหะแพร่เชื้อไปในวงกว้าง โดยการกำจัดลูกน้ำในแหล่งที่มีน้ำขัง
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ด้วยมาตรการปราบยุงลาย 5 ป. ได้แก่
1. ปิดฝาตุ่มน้ำ
2. เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุก 7 วัน
3. ปล่อยปลากินลูกน้ำ
4. ปรับปรุงสภาพแวดล้อม
5. ปฏิบัติเป็นประจำ
          นอกจากนี้ ต้องขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพทั้งภาครัฐ และเอกชน อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชน ช่วยกันดำเนินการอย่างพร้อมเพียงและถูกวิธี อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับให้แพทย์วินิจฉัยอย่างเข้มงวดในการรักษาผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ให้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ลงพื้นที่เพื่อควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง และต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบริเวณใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง เช่น ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด ปล่อยปลากินลูกน้ำ หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะกักเก็บน้ำ เป็นต้น